วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ศิลปะร่วมสมัยของไทย

บทความเรื่องนี้ปรับปรุงจากปาฐกถาเปิดประเด็นเรื่องศิลปะร่วมสมัยของไทย ในงานเชิดชูเกียรติ ๓ ศิลปิน รางวัลมนัส เศียรสิงห์ "แดง" : วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๕ ณ ห้องประชุมสถาบันปรีดี พนมยงค์

ภาพรวมเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยนั้นเป็นเรื่องใหญ่ ในที่นี้คงหมายถึงแวดวงศิลปะร่วมสมัยของไทย และผมเองอยากเลี่ยงไม่ใช้คำว่าศิลปิน เพราะคำว่าศิลปินนั้นในบ้านเราขณะนี้ค่อนข้างจะไม่ค่อยมีความหมาย ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยมีความหมาย

ผมอยากขอเปิดประเด็นโดยเริ่มที่คำกล่าวของท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ที่บอกว่า วิทยาศาสตร์และประณีตศิลปะทางสังคมจะทำให้นักสังคมบรรลุถึง "วิชชา" คือความรู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของสังคม ซึ่ง ณ ที่นี้ผมอยากเอามาแยกความใหม่โดยมุ่งไปที่คำว่า "ประณีตศิลป์ทางสังคม"

คำว่าประณีตศิลปะ หรือประณีตศิลป์ ท่านอาจารย์ปรีดีคงจะหมายถึงสิ่งที่เราเรียกกันว่า Fine Art และอาจจะกินพื้นที่มาถึงคำใหม่ที่เรียกว่าทัศนศิลป์ หรือ Visual Art ในปัจจุบัน อันเป็นภาพรวมของศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะร่วมสมัย ที่อาจไม่จำเป็นต้องมีลักษณะแบบ Fine Art เหมือนเดิม เพราะศิลปะสมัยใหม่และศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันมันมีลักษณะแตกตัวอยู่เลยคำว่า "ประณีตศิลป์" ไปแล้ว คือมีทั้งที่สร้างขึ้นอย่างประณีตและไม่ประณีต นี่เป็นความเข้าใจคำว่า Visual Art ตามทรรศนะร่วมสมัย แต่ในสมัยของท่านอาจารย์ปรีดีคงจะแปลคำว่า "ประณีตศิลปะ" ในแง่มุมของสุนทรียศาสตร์ และยังกำกับตามมาด้วยคำว่าสังคม ซึ่งถ้าให้ตีความเข้าข้างตัวเองก็คงจะตีความคำว่า "สังคม" ในที่นี้ว่าหมายถึงเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม

ดังนั้นคำว่า "ประณีตศิลปะทางสังคม" จึงหมายถึงงานศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องด้วยคุณค่าของคำทั้ง ๓ ดังกล่าว

อย่างไรก็ตามคำว่าศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันมันผูกติดอยู่กับรสนิยมที่ถูกปลูกฝังด้วยค่านิยมและทัศนคติต่างๆ ร้อยแปด ถ้ามองกันอย่างภาพรวมกว้างๆ โดยไม่เฉพาะเจาะจงทั้งตัวงานตัวบุคคล ผมมีความเห็นว่าศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันได้กลายเป็นเหมือนของโชว์ประเภทหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับเงินและการศึกษา ซึ่งในที่นี้หมายถึงรสนิยมแบบตะวันตก รสนิยมแบบคนชั้นกลางที่ผูกติดการบริโภคแบบเป็นเจ้าสมบัติ คล้ายๆ กับว่ามีเงินมากแค่ไหนก็มีรสนิยมมากแค่นั้น และรสนิยมในที่นี้ตีความกว้างๆ ก็คือการที่เราได้เรียนรู้และ "เลียนรู้" มาจากระบบโลก คือเรามักจะมองระบบของงานศิลปะสมัยใหม่ งานศิลปะร่วมสมัย หรือไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตาม โดยการเอาระบบโลกเข้ามาจับ คือเอาศูนย์กลางในประเทศตะวันตกเป็นตัวตั้ง ส่วนประเทศไทยหรือสังคมไทยนั้นเป็นตัวตาม โดยความสัมพันธ์ต่างๆ ก็ดี การรับรู้เรียนรู้ต่างๆ ก็ดี ถือเป็นการรับรู้เรียนรู้แบบศูนย์กลางกับชายขอบ

ศึกษาศิลปะด้วยตนเอง และได้เปิดงานแสดงภาพชื่อ "สุชาติโทเปีย [Such-artopia] ณ พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ และเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗ เปิดแสดงภาพชื่อ "สุชาติมาเนีย [Such-artmania] ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์
สถานที่ติดต่อ
ตู้ ป.ณ. ๑๑๔๓ ปท.ดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๑

แหล่งที่มา : http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=262